บรรพบุรุษนามผันตาหู ห่มคลุมร่างกายด้วยลวดลาย 7 สี

เมี่ยน หรือ เย้า เป็นชนเผ่าที่มีประวัติสืบเนื่องยาวนานตั้งแต่ สมัยครั้งสงครามกลางเมืองที่ประเทศจีนเมื่อกว่าสองพันปีที่แล้ว สำหรับ ในประเทศไทยชนเผ่าเมี่ยนที่อพยพเข้ามาอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่นั่นคือ เมี่ยน กลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานเกือบ 200 ปี มาแล้ว และเมียนกลุ่มหลังที่เพิ่งอพยพหนีภัยสงครามจากประเทศลาว เข้ามาเมื่อประมาณกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

ชาวเผ่าเมี่ยนทั้งสองกลุ่มนี้ ล้วนมีภาษาพูดและวัฒนธรรม การแต่งกายที่ใกล้เคียงกัน จะสังเกตเห็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่ นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและลักษณะการโพกศีรษะของสตรีเมี่ยน ลวดลายบนเส โดยเมี่ยนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อน จะใช้ผ้าโพกศีรษะเก็บ พันรอบศีรษะแล้วเหลือปลายผ้าสองข้างทิ้งไว้เพื่ออวดลวดลายที่สวยงาม ขณะที่เมี่ยนกลุ่มหลังที่อพยพมาจากประเทศลาว จะเก็บปลายผ้าโพก ศีรษะอย่างเรียบร้อยมิดชิด

ชาวเผ่าเมี่ยนได้รับการยอมรับว่าเป็นชนเผ่าที่มีฝีมือด้านการ ทำงานศิลปะและหัตถกรรมเป็นอย่างยิ่ง ผู้ชายชาวเมียนมีทักษะความ เชี่ยวชาญด้านการทำเครื่องเงินสูงมาก ในขณะที่ผู้หญิงชาวเมียนก็มีฝีมือ ค้านการปักผ้าที่งดงามจนเลื่องลือไม่แพ้กัน

ผ้าปักเมี่ยน

ชาวเผ่าเมี่ยนกับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับ ตำนานกำเนิดของชาวเมียน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึง ลูกหลานในปัจจุบัน ตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดา มาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมือง เกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้ แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏ ให้พระราชาจนสำเร็จ เมื่อถึงวันแต่งงานผันตาหูได้สั่งให้ทอผ้าขึ้นผืนหนึ่ง ปักลวดลายงดงามด้วยสีสัน 7 สี เมื่อผันตาหูใช้ผ้าผืนนี้ห่มคลุมร่างกาย ก็กลายร่างจากสุนัขมาเป็นมนุษย์ได้ครองคู่กับเจ้าหญิง ช่วยกันสร้าง เผ่าพันธุ์เมี่ยนหรือเย้านับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ตำนานนี้ได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานชาวเมี่ยนจากรุ่นสู่รุ่นนับจาก อดีตกาล ด้วยลักษณะการใช้ลวดลายและสีสันบนเครื่องแต่งกาย เสมือนเป็นการสืบตำนานการปกปิดร่างกายของผันตาหู ผู้ให้กำเนิดเงี่ยน โดยใช้เสื้อลาย 7 สีห่มคลุมร่าง เข็มขัดรัดเอว ผ้าเช็ดหน้าลายดอกไม้ผูกที่ หน้าผาก กางเกงลายปิดกั้น ผ้าลายสองผืนปิดที่ขา จึงเป็นที่มาของลักษณะ เครื่องแต่งกายประจำเผ่าของชาวเขาเผ่าเมี่ยนในการใช้เสื้อ ผ้าคาดเอว ผ้าโพกศีรษะ และกางเกงที่ปักลวดลายด้วยด้าย 7 สี ปัจจุบันชาวเมียน ยังคงยึดถือตำนานพันตาหูเป็นประเพณีที่เคร่งครัดหญิงชาวเมี่ยนยังคง สืบทอดศิลปะการปักผ้าลวดลายแบบโบราณและใช้สีเส้นด้ายในการปักลวดลายไม่น้อยกว่า 7 สี ตามที่ได้รับการสืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษ

เอกลักษณ์การแต่งกายประจำเผ่าเมียนนั้น ผู้ชายชาวเมี่ยนจะ โพกหัวด้วยผ้าสีดำ สวมเสื้อและกางเกงสีดำ มีผ้าคาดเอวด้านหน้า ผู้หญิงเมี่ยนสวมเสื้อตัวยาวสีดำ มีพี่สีแดงตกแต่งรอบคอเสื้อ สวมกางเกง สีตาปักลายด้านข้าง มีผ้าคาดเอวทิ้งชายด้านหลัง โพกหัวด้วยผ้าสีดำ ปักลวดลายที่เชิงทั้งสองด้าน

เสื้อผ้าผู้ชายชาวเมี่ยนจะมีการปักลวดลายที่บริเวณขายเสื้อและ ผ้าคาดเอวเพียงเล็กน้อย ต่างกับเสื้อผ้าผู้หญิงที่จะมีการปักลวดลาย แพรวพราวงดงาม โดยเฉพาะกางเกงของหญิงสาวชาวเมียน เป็นที่เลื่องลือกันอย่างยิ่งถึงลวดลายที่ปักอย่างประณีตละเอียดงดงาม กล่าวกันว่า กางเกงของหญิงสาวชาวเมียนแต่ละตัวนั้น ต้องใช้เวลาในการปักรวมกัน ไม่น้อยกว่า 6 เดือนถึง 1 ปี

ผ้าปักชาวเขาเผ่าเมียนได้รับการส่งเสริมในโครงการศิลปาชีพ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพประเภทผ้าปักชาวเขา ผ้าปักที่มีลวดลาย งดงามที่เกิดจากการบรรจงสร้างสรรค์ด้วยทักษะฝีมือของหญิงชาวเมี่ยน สามารถนำไปแปรรูปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ ชาวเมี่ยนมีรายได้ยังชีพส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นนับจนถึง ปัจจุบันนี้

เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายบนผืนผ้า : ชนเผ่าเมี่ยน

เมี่ยนเป็นชนเผ่าที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปะลวดลายบนผืนผ้าประจำ ชนเผ่าไว้ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันแม้ชาวเมียนบางส่วนจะหันมาแต่งกาย ด้วยชุดเหมือนคนพื้นราบเพื่อความคล่องตัวในชีวิตประจำวัน แต่ใน โอกาสพิเศษ เช่น งานวันปีใหม่ งานแต่งงาน งานบวช ฯลฯ ชาวเขียนจะ ยังคงยึดถือการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าที่คงไว้ซึ่งลวดลายโบราณ ที่งดงามอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมนับตั้งแต่บรรพบุรุษไว้อย่างเคร่งครัด

การสร้างสรรค์ลวดลาย – ด้วยความที่ชนเผ่าเมี่ยนเป็นชนเผ่าที่มีประวัติสืบทอดต่อเนื่องมายาวนานนับเป็นพันปี ศิลปะการสร้างสรรค์ ลวดลายบนผืนผ้าของชาวเมียน จึงมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับ เรื่องเล่า ตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกอยู่ในประเพณี วัฒนธรรมประจำชนเผ่าที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ผสม ผสานกลมกลืนเข้ากับลวดลายที่มาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมี่ยน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ในครัวเรือน พืชผักผลไม้ สัตว์ป่าน้อยใหญ่ โดยเฉพาะเสื้อ ซึ่งพบว่าเป็น สัตว์ป่าที่ชาวเมียนนำเอาลักษณะต่าง ๆ มาจินตนาการสร้างสรรค์ขึ้นเป็น ศิลปะลวดลายบนผืนผ้ามากที่สุด

อัตลักษณ์แห่งลวดลายที่สะท้อนความเป็นชนเผ่า – ชนเผ่า

เมี่ยนเป็นกลุ่มชนเผ่าที่นับถือผี วิญญาณ เทพยดา ยึดมั่นในการทำความ ดี นอบน้อมต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ยำเกรงต่อสิ่งชั่วร้าย บุคลิก ของชนเผ่าเมี่ยนเป็นชนเผ่าที่ยึดมั่นความกตัญญูต่อบรรพบุรุษขณะเดียวกันก็เป็นชนเผ่าที่มีความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมประจำเผ่าที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนานเป็นอย่างยิ่ง

บุคลิกเหล่านี้ล้วนสะท้อนออกมาให้เห็นในงานศิลปะบนผืนผ้า ของชาวเมี่ยนอย่างชัดเจน ลวดลายบนผืนผ้าทุกลายเปรียบเสมือนสิ่ง ล้ำค่าที่ชาวเมี่ยนต้องสร้างสรรค์ด้วยความประณีต ดังปรากฏว่าลาย ผ้าของชาวเมียนทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะเรียบร้อยสวยงามเหมือน กันราวกับส่องกระจก จะไม่พบเส้นด้ายที่ยุ่งเหยิงหรือซ่อนความผิด พลาดไว้ด้านหลัง ขณะเดียวกัน ผ้าปักของชาวเมียนแต่ละผืน ยังเปรียบ เสมือนการทำงานเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาล้ำค่าของชนเผ่า หญิงสาวชาวเมี่ยนจะบรรจงอวดฝีมือในการสร้างลวดลายอย่างวิจิตร ผืนผ้าแต่ละฝันจะประกอบไปด้วยลวดลายที เต็มเปี่ยมไปด้วยรายละเอียดและสีสันที่อวดประชันขันแข่งกันอย่างเต็ม ที่ ดังปรากฏว่าผ้าปักของชาวเมี่ยนบางผืนอาจพบลวดลายมากกว่า 10 ลวดลายรวมกันอยู่ในผืนเดียว และใช้เวลาในการสร้างสรรค์งานปักแต่ละ ฝันอย่างไม่ย่อท้อเนิ่นนานเป็นปีกว่าจะแล้วเสร็จ

พัฒนาการในการสร้างสรรค์ลวดลายของผ้าปักเฆี่ยนเป็นไป ในแนวทางอนุรักษ์นิยมอย่างชัดเจน ปัจจุบันแม้จะมีหญิงชาวเมี่ยน คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ขึ้นมาอยู่บ้าง แต่ก็จะเป็นไปเพียง เพื่อเสริมเพิ่มเติมให้ผืนผ้าดูแปลกตาขึ้นเท่านั้น ลวดลายหลักที่ปรากฎ บนผืนผ้าส่วนใหญ่ของชาวเมี่ยนแทบทุกผืนยังคงเป็นลวดลายโบราณ เอกลักษณ์ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณกาล

การใช้สีในผ้าของชาวเมี่ยนก็เช่นเดียวกัน แม้หญิงชาวเมี่ยนจะ มีจินตนาการเติมแต่งการใช้สีในการสร้างสรรค์ลวดลายงานปักที่หลาก หลาย แต่สิ่งที่ยังคงยึดถือเป็นกฎอย่างไม่เปลี่ยนแปลง นั่นก็คือการใช้สีในจำนวนที่ไม่น้อยกว่า 7 สี ในเครื่องแต่งกายประจำชนเผ่าของ ชาวเมี่ยนทั้งหญิงชายตามตำนานของผันตาหูผู้ถือเป็นบรรพบุรุษของ ชนเผ่า โดยสี 7 สีหลักของชาวเมี่ยนตามตำนานได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีดำ และสีขาว

เทคนิคการสร้างสรรค์ลวดลาย – ศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลาย บนผืนผ้าของชาวเมี่ยนที่เลื่องลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม กันไปทั่วก็คือการปัก ลวดลายงานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชนเผ่า เมี่ยนในแต่ละชิ้นนั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นลวดลายปักชั้นครูเลยทีเดียว เนื่องจากลวดลายอันวิจิตรแต่ละลายนั้นเกิดจากทักษะความชำนาญ และความแม่นยำในการจรดฝีเข็มด้วยเทคนิคเฉพาะตัว ตั้งแต่วิธีการจับ เข็มที่จะใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับตรงกึ่งกลางเข็ม วางนิ้วกลางอยู่หน้า นิ้วชี้ ที่สำคัญก็คือในขณะปัก หญิงสาวชาวเมี่ยนจะใช้วิธีคว่ำเอาด้าน หน้าของผ้าลง หงายด้านหลังของผ้าขึ้นมาหาผู้ปัก จากนั้นจึงทำการปัก ลวดลายจากทางด้านหลังผ้าโดยจะไม่มีการพลิกกลับมองด้านหน้าใน ขณะปักเลยแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นเราจึงพบว่าลวดลายที่เกิดขึ้นบนผ้าปัก แต่ละผืนของชาวเมี่ยนนั้น มีความเรียบร้อยสวยงามและประณีตเหมือน กันทั้งด้านหน้าและด้านหลังอย่างน่ามหัศจรรย์

เอกลักษณ์ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าชาวเขาเผ่าเมี่ยนดังที่ จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของลวดลายโบราณดั้งเดิมที่ ชนเผ่าเมี่ยนได้มีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จากรุ่น สู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามลวดลายทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเฉพาะ ของกลุ่มชนเผ่าเมี่ยน ที่เป็นสมาชิกชาวเขาเผ่าเมี่ยนในโครงการ ศิลปาชีพในพื้นที่เป้าหมายที่ทำการเก็บข้อมูลเท่านั้น ดังนั้นที่มา ความเชื่อ หรือตำนานการเกิดขึ้นของลวดลาย ตลอดจนการเรียกชื่อ ลวดลายเอกลักษณ์โบราณด้วยภาษาของชนเผ่าเมียนในท้องถิ่นดังกล่าว จึงอาจมีความผิดเพี้ยนหรือแตกต่างจากชาวเมี่ยนในท้องถิ่นอื่นอยู่บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการสืบทอดทางวัฒนธรรมและประเพณีที่ ต่อเนื่องกันมายาวนานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ที่อาจมีการแปรผันไปตาม กาลเวลาและบริบทของพื้นที่ที่อยู่อาศัยของชาวเมี่ยนที่มีความแตกต่างกันนั่นเอง

เทคนิคการสร้างสรรค์ลวดลายที่สะท้อนทักษะฝีมือ “ผ้าชนเผ่าเมี่ยน”

สําหรับการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยการปักของ หญิงชาวเมี่ยนนั้น โดยทั่วไปหญิงชาวเมี่ยนทุกคนจะต้องเริ่มต้นฝึกหัดปัก เทคนิคพื้นฐานที่เรียกว่า หยิ่ว หมายถึงการปักเดินเส้นเป็นเส้นตรง และ เมื่อสามารถทำได้อย่างเชี่ยวชาญแล้ว หญิงชาวเมี่ยนแต่ละคนก็จะเริ่มสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิคที่นิยมใช้กันมากคือ การปักแบบ ทีเรียกว่า โฉ่ง ทิว

การปักแบบ โฉ่ง ทิว นั้นหมายถึง การปักด้ายทีละเส้นให้เป็น ลายกากบาทเล็ก ๆ ประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายต่าง ๆ ตัวอย่างลายที่นิยม มาก เช่น ลายย่านเปี้ยง (ดอกไม้เงิน) ลายซม (คน) ลายหล่มเจว (ตีนแมว)ลายก้อนยอ (แมงมุม) เป็นต้น

ปัจจุบันนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นในการปัก หญิงชาวเมี่ยน หลายคนจึงเริ่มหันมาใช้วิธีการปักที่เรียกว่า โฉ่ง ดับ ยับ หรือการปักไขว้ ตามตาของผ้าลักษณะคล้ายกับการปักครอสติชในปัจจุบันมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนเทคนิคไปอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์งานปักของชาวเมี่ยน ด้านหลังสวยงามเช่นเดียวกันราวกับสองกระจกที่ยังยึดถือเสมอมานั่นคือ ความเรียบร้อยประณีตของงานปักที่ทั้งด้านหน้า

อ้างอิง : หนังสือเย็บ ปัก ถักทอ เอกลักษณ์และศิลปะผ้าชาวเขา จัดทำโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)