1. ลายหยิ่ว หยิ่ว หรือลายเดินเส้น

หยิ่ว เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ความหมายในภาษาไทย หมายถึง การเดินเส้น การเรียกชื่อลายที่มีลักษณะการปักด้ายเดินเส้นยาว ต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรงในแนวนอน เป็นลวดลายปักโบราณดั้งเดิมที่ สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษของชนเผ่าเมี่ยนนับหลายร้อยปี ลายหยิ่ว หยิ่ว หรือลายเดินเส้น นี้ยังเป็นลายพื้นฐานใช้ขึ้นต้นในการปักผ้าของ ชาวเมียนแทบทุกผืน ถือเป็นลายปักลายแรกที่หญิงสาวชาวเมี่ยนทุกคน ต้องฝึกปีกให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มไปฝึกหัดปักลายที่มีความยากและซับซ้อน มากขึ้นลายอื่น ๆ ต่อไป

2. ลายหล่มเจว หรือลายตีนแมว (เท้าของแมว)

หล่มเจว เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) แปลเป็นภาษาไทยว่า ตีนแมว (เท้าของแมว) เป็นชื่อเรียกลายโบราณเอกลักษณ์ดั้งเดิมของ ชาวเมี่ยนที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนับหลายร้อยปี เป็นเหมือน ลายหลัก หรือลายบังคับที่ผ้าปักชนเผ่าเมียนต้องมี ลักษณะของลายมี ลักษณะวงกลมใหญ่ตรงกลาง และมีวงกลมจุดเล็ก ๆ อยู่ล้อมรอบ ดูคล้ายลักษณะรูปร่างเท้าของแมว ลายหนุ่มเจวหรือลายตีนแมวนี้เป็น ลวดลายที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน ลักษณะลายอาจจะมี 2 ลักษณะ ด้วยกันคือ ลายหล่มเจวที่มีจุดหรือดอก 8 ดอกและลายหล่มเจวที่มี จุดหรือดอก 12 ดอก มักจะเห็นลายหล่มเจว หรือลายตีนแมวปรากฏอยู่ บนผืนผ้าปักชนเผ่าเมียน ทั้งกางเกงของผู้หญิงและผ้าคาดเอวของผู้ชาย แทบทุกผืน นอกจากนี้ยังมักนิยมปักไว้ในผ้าสีดำผืนเล็ก ๆ เพื่อนำมาติด ไว้หน้าประตูบ้านของชาวเมียนแทบทุกหลัง ทั้งนี้เพราะชาวเมี่ยนมีความ เชื่อมาแต่โบราณกาลว่าเมื่อใดที่โลกประสบเหตุเภทภัยหนัก เทวดาจะลง มาช่วยเหลือชาวเมี่ยนทุกคนให้พ้นภัย เมื่อเทวดาได้เห็นผ้าปักลวดลาย เอกลักษณ์ของเมียนที่ติดไว้ที่หน้าประตูบ้าน เทวดาจะรู้ว่าเป็นบ้านของ ชาวเมี่ยน ก็จะเข้าไปช่วยเหลือให้ชาวเมี่ยนพ้นภัยได้ในที่สุด

3. ลายเหยว หรือลายฟันเลื่อย,กั้น

เหยว เป็นภาษาเมี่ยน (เย้า) เป็นชื่อเรียกลายปักโบราณดั้งเดิม ที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ คำว่า เหยว หากแปลเป็นภาษาไทยจะมีความหมายตรงตัวว่า ฟันเลื่อย ซึ่งสอดคล้องไปกับรูปร่างของลวดลายที่มีลักษณะซิกแซกสลับขึ้นลงดูคล้ายฟันเลื่อย แต่ในอีกความหมายหนึ่ง คำว่าเหลวในภาษาเมี่ยนยังหมายถึง กัน หรือ กั้น ด้วย ดังนั้นชาวเมียน จึงนิยมปักลายเหยว ที่บริเวณชายขอบผ้า เช่น ปลายขอบขากางเกง ผ้า โพกหัวหรือผ้าคาดเอวสตรี หรือเป็นลายคันระหว่างลายหนึ่งกับอีกลาย หนึ่ง ทั้งนี้เพราะชาวเผ่าเมี่ยนมีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณว่า ลายเหยวนี้จะช่วยป้องกันและกั้นสิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ไม่ดี ไม่ให้เข้ามากล้ำกราย แก่ผู้ที่สวมใส่ได้ จึงมักจะเห็นลายเหยวหรือ ลายฟันเลื่อยปรากฏอยู่บนผืนผ้าปักชนเผ่าเมี่ยนแทบทุกผืน

4. ลายกว๊างิ้ม หรือลายเมล็ดแตงกวา

กว๊างิ้ม เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ความหมายในภาษาไทย หมายถึง เมล็ดแตงกวา เป็นลวดลายงานปักเก่าแก่โบราณของชาวเมี่ยน แต่ในปัจจุบันอาจจะพบเห็นลวดลายนี้ได้ค่อนข้างน้อยมาก ลักษณะ ลวดลายมีลักษณะคล้ายแกนสี่เหลี่ยมกากบาท ปลายแต่ละด้าน แตกแยกออกไป มีที่มาจากจินตนาการของบรรพบุรุษชาวเมี่ยน ที่ได้นำ รูปร่างของแกนไส้เมล็ดแตงกวาซึ่งอยู่ด้านในของลูกแตงกวา ซึ่งเป็นผัก พื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวเมี่ยนนิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานในชีวิต ประจำวัน มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายงานปัก ลวดลายมีความงดงามและ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ในปัจจุบันถึงแม้จะไม่ค่อยได้เห็นลวดลายเช่นนี้ ในผืนผ้าของชนเผ่าเมี่ยนแล้ว แต่ยังมีหญิงชนเผ่าเมี่ยนผู้สูงอายุที่มีการ สืบทอดการปักลวดลายเอกลักษณ์โบราณนี้เก็บไว้เพื่อไม่ให้สูญหายไป จากชนเผ่าของตน

5. ลายซม หรือลายคน

ซม เป็นลายปักผ้าของชาวเมี่ยน (เย้า) ที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ชัดเจน เป็นลวดลายปักเก่าโบราณดั้งเดิมที่มีการสืบทอดมาแต่ครั้ง บรรพบุรุษนับหลายร้อยปี ค่าว่าชมแปลเป็นภาษาไทยว่า คน บางครั้งจะพบว่าชาวเมี่ยนเรียกลวดลายลักษณะนี้ว่า เมี่ยน ที่มีความหมายว่า มนุษย์ ลายซมมีที่มาจากการที่บรรพบุรุษชาวเผ่าเมี่ยนจินตนาการลวดลายขึ้น เพื่อที่จะถ่ายทอดและเลียนแบบลักษณะรูปร่างทางกายภาพ ของคนอย่างง่าย ๆ ลักษณะคล้ายภาพเขียนของมนุษย์ยุคโบราณ ที่มีส่วนหัว ลำตัว แขน ขา เป็นความเชื่อของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาจากตำนานที่ว่า ผันตาหู บรรพบุรุษชาวเมี่ยนเป็นผู้สั่งให้ปักลายลักษณะเช่นนี้ ลายซม จึงถือเป็นอีกหนึ่งลายเอกลักษณ์งานปักผ้าของชนเผ่าชาวเมียน ที่เอกลักษณ์โดดเด่นชัดเจน จึงมักจะเห็นลายชมหรือลายคน ปรากฏอยู่ บนผืนผ้าปักชนเผ่าเมี่ยนทั้งชายและหญิงแทบทุกผืน

6. ลายย่านเปี้ยง หรือลายดอกไม้เงิน

ย่านเปี้ยง เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) มีความหมายหมายถึง ดอกไม้เงิน เป็นลายปักโบราณที่บรรพบุรุษนิยมใช้ปักประดับในเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของชาวเมี่ยนสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาล ลายย่านเปี้ยง มีที่มาจากการประกอบพิธีแต่งงานในสมัยโบราณของชาวเมี่ยนที่นิยมนำ เงินมาตีเป็นรูปดอกไม้ เพื่อนำมาใส่ไว้ในภาชนะคล้ายชามให้คู่บ่าวสาว ได้ยกมอบให้แก่ผู้ใหญ่ในงานพิธี จากนั้นผู้ใหญ่ก็จะนำเงินทองใส่ลงใน ชามมอบกลับมาให้ลูกหลาน ดังนั้นดอกไม้เงินจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของ สิ่งที่เป็นสิริมงคล เมื่อนำมาปักเป็นลวดลายในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ก็เชื่อว่าจะนำสิ่งดี ๆ ที่เป็นมงคลมาให้แก่ผู้สวมใส่ด้วยเช่นกัน จึงมักจะเห็นเอกลักษณ์ ลวดลายลายย่านเปี้ยง หรือดอกไม้เงิน ปรากฏอยู่บนผืนผ้าปักชนเผ่าเมี่ยนแทบทุกผืน

7. ลายด่มหม่าวงิ้ว หรือลายเล็บเสือ

ด่มหม่าวงิ้ว เป็นภาษาชนเผ่าเมียน (เย้า) แปลเป็นภาษาไทยได้ ว่า เล็บเสือ เป็นหนึ่งในลวดลายปักเอกลักษณ์โบราณของชาวเมียน ที่บรรพบุรุษได้แรงบันดาลใจมาจากลักษณะต่าง ๆ ของเสือ ลายด่มหม่าวงิ้วเรียกตามลักษณะของลวดลาย ที่บรรพบุรุษชาวเมียน จินตนาการสร้างสรรค์ออกแบบลวดลายให้คล้ายลักษณะกรงเล็บของเสือในขณะที่มีการกางออก มักนิยมนำไปใช้ปักเป็นลายกางเกงของผู้หญิงเมี่ยนส่วนบนที่เรียกว่าโฮ่วซิน ทุกวันนี้หญิงชาวเผ่าเมี่ยนยังคงมี การสืบทอดปักลวดลายด่มหม่าวงิ้ว หรือลายเล็บเสืออย่างแพร่หลาย

8. ลายสบเปี้ยง หรือลายดอกฟักเขียว

สบเปี้ยง เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) มีความหมายในภาษาไทย ว่า ดอกฟักเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณของชนเผ่าเมียน ที่บรรพบุรุษจินตนาการมาจากลักษณะของดอกฟักเขียว ซึ่งเป็นพืชผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวเมี่ยนนิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานในชีวิตประจำวัน ลักษณะของลวดลายปักอ่อนช้อยทิ้งปลายให้สะบัดปลิวไสว ดูละม้ายคล้าย พุ่มดอกใบของต้นฟักเขียวที่มีอยู่ในธรรมชาติ หญิงสาวชนเผ่าเมี่ยนยังคงสืบทอดการปักเอกลักษณ์ลายสบเปี้ยง หรือลายดอกฟักเขียวบนผืนผ้าปักเมี่ยนจนถึงทุกวันนี้

9. ลายเก๋าจ้อน หรือลายทัพพี

เก๋าจ้อน เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ความหมายในภาษาไทย หมายถึง ทัพพี เป็นชื่อเรียกลวดลายปักโบราณที่สืบทอดจากบรรพบุรุษของชาวเมี่ยน ลักษณะลวดลายด้านบนคล้ายเป็นด้ามจับ ด้านล่างเป็นสี่เหลี่ยมโค้งปลายขึ้นเหมือนเป็นส่วนของทัพพีที่ใช้ในการตักอาหาร เป็นการจินตนาการของบรรพบุรุษชาวเมี่ยนที่มีที่มาจากรูปร่างของทัพพีโบราณที่ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ประจำครัวเรือนของชาวเมี่ยน ในสมัยโบราณ มักพบเอกลักษณ์ลวดลายเก๋าจ้อนได้ในส่วนขอบชาย ผืนผ้าปักของเมียน ทั้งที่นำไปตัดเย็บประดับชายเสื้อของผู้ชายและ กางเกงของหญิงสาวชาวเมี่ยน เอกลักษณ์ลวดลายปักลายเก๋าจ้อน หรือ ลายทัพพีนี้ นับเป็นการบันทึกร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอีก รูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันแทบไม่มีการเก็บรักษาตัวอย่างทัพพีโบราณลักษณะนี้ให้เห็นอีกแล้ว

ลายจ้างเป๋ย หรือลายที่รองก้นไห

จ้างเป๋ย เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ที่เรียกลักษณะลวดลายปัก ที่บรรพบุรุษในสมัยโบราณลอกเลียนแบบหรือจินตนาการลวดลายมาจาก เครื่องใช้ในครัวเรือนชนิดหนึ่งของชาวเมี่ยนที่สานขึ้นจากไม้ไผ่ใช้สำหรับรองก้นไหนึ่งข้าวของชาวเมี่ยนในสมัยโบราณ (ปัจจุบันไม่พบเครื่องใช้ชิ้นนี้ในบ้านของชาวเมี่ยนแล้ว)ถือเป็นลวดลายที่โบราณมากในปัจจุบันหญิงชาวเมียนมักไม่นิยมปักแล้ว ลักษณะของลายจ้างเปียที่พบมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือลักษณะคล้ายกิ่งไม้ที่ปลายเป็นรูปตะขอไขว้ กันเป็นกากบาท และอีกลักษณะหนึ่งรูปร่างลักษณะคล้ายการก่ออิฐสี่เหลี่ยมเป็นฐานด้านนอก มีกิ่งไม้ไขว้กันเป็นกากบาทอยู่ด้านใน ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากจินตนาการ
ที่แตกต่างกันของหญิงชาวเมียนในสมัยโบราณนั่นเอง

16. ลายก้อนยอ หรือลายแมงมุม

ก้อนยอ เป็นภาษาชาวเมี่ยน (เย้า) ความหมายในภาษาไทย หมายถึง แมงมุม เป็นลายปักโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดต่อมาตั้งแต่ในสมัยโบราณนับร้อยปี บรรพบุรุษชาวเมี่ยนนำลักษณะรูปร่างของแมงมุมมาจินตนาการขึ้นเป็นลวดลายปักอันงดงามบนผืนผ้า โดยลักษณะลวดลายที่พบมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่หนึ่งมองดูคล้ายสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ปลายด้านหนึ่งเป็นมุมแหลมคล้ายหัวแมงมุม ด้านที่เหลือแตกเป็นกิ่งก้านคล้ายขาของแมงมุม และลักษณะที่สอง รูปร่างคล้ายเส้นตรงขดต่อเนื่องกัน เป็นสี่เหลี่ยมข้างลำตัวแตกเป็นแฉกแหลมคล้ายลักษณะขาของแมงมุม เอกลักษณ์ลวดลายก้อนยอหรือลายแมงมุมพบได้ในผ้าปักชาวเมี่ยนแทบทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นลวดลายในผ้าโพกหัว ลวดลายบริเวณขากางเกงของสตรีชาวเมี่ยน และลวดลายในผ้าสะพายหลังฝันใหญ่ที่แม่ชาวเมี่ยนใช้สะพายลูกน้อยขณะทำงานในชีวิตประจำวัน

12. ลายยิ่งหงวย หรือลายปู

ยิ่งหงวย เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ความหมายในภาษาไทย หมายถึง ปู เป็นลวดลายงานปักโบราณที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่มาของลวดลายบรรพบุรุษชาวเมี่ยนจินตนาการขึ้นมาจาก การเลียนแบบลักษณะรูปร่างของปู ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ชาวเมี่ยนมักจะจับนำมารับประทานเป็นอาหารในครอบครัว ลักษณะลวดลายดึงเอารูปร่างที่โดดเด่นของปูมาตัดทอนจำลองเป็นลวดลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีลายกากบาทตัดแทยงอยู่ตรงกลาง ทำให้ดูคล้ายลักษณะของขาปูที่แยก เป็นแฉกออกไป ลายยิ่งหงวย หรือลายปูยังมีการสืบสานการปักจนถึงปัจจุบัน พบได้บ่อยในผ้าปักขากางเกงของสตรีชาวเมี่ยน

13. ลายเจี้ยน หรือลายชะนี

เจี้ยน เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ความหมายในภาษาไทย หมายถึง ชะนี เป็นอีกหนึ่งลวดลายงานปักโบราณที่บรรพบุรุษชาวเมี่ยน จินตนาการขึ้นมาจากลักษณะรูปร่างของสัตว์ที่พบในป่า มีลักษณะคล้าย ลายจุดวงกลมกึ่งกลางแตกแยกกิ่งก้านโค้งไหวเป็นแขนขารอบตัวทั้ง บน ล่าง ซ้าย ขวา มองแล้วดูคล้ายชะนีในอากัปกริยาเอื้อมมือข้างหนึ่งโหนต้นไม้ ซึ่งเป็นภาพของชะนีที่เราต่างพบเห็นคุ้นตาอยู่ทั่วไป นับเป็น อีกหนึ่งความชาญฉลาดของบรรพบุรุษเมี่ยนยุคโบราณ ในการถ่ายทอด สัญลักษณ์ของสัตว์ให้เป็นลวดลายที่งดงามบนผืนผ้า ปัจจุบันหญิงชาวเผ่าเมี่ยนยังคงมีการสืบทอดลวดลายปักลายเจี๊ยน หรือลายชะนีปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป

14. ลายด่มหม่าวด๊บ หรือลายหนังเสือ

ด่มหม่าวด๊บ เป็นภาษาชนเผ่าเมียน (เย้า) แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า หนังเสือ เป็นลวดลายโบราณที่บรรพบุรุษชาวเมี่ยนสร้างสรรค์ขึ้น ด้วย จินตนาการจากการสังเกตเห็นความงดงามของลวดลายที่ปรากฏบน ผิวหนังของพญาเสือโคร่งที่อยู่ในป่า ในสมัยโบราณวิถีชีวิตชาวเมี่ยน มีความผูกพันกับเสือมาก ดังได้มีการกำหนดอยู่ในปฏิทินชาวเมี่ยนช่วงหลังตรุษจีน จะมีวันที่เรียกว่าวันเสือนอนและวันเสือกิน ทั้งสองวันนี้ ชาวเมี่ยนจะถือว่าเป็นวันถือศีล ห้ามจับหรือแตะต้องสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ถ้าไม่เช่นนั้นเสือจะมากินสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นจนหมด อย่างไรก็ตาม ลายด่มหม่าวด๊บหรือลายหนังเสือนี้ พบได้ในหลายรูปแบบตามจินตนาการของผู้ปัก บางลวดลายแม้เรียกชื่อว่าลายด่มหม่าวด๊บเหมือนกัน แต่ก็อาจมีลักษณะรายละเอียดของลวดลายที่แตกต่างกันก็เป็นได้

15. ลายด่มหม่าวหน่อม หรือลายหูเสือ

ด่มหม่าวหน่อม เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ในภาษาไทย หมายถึง หูเสือ เป็นลายปักโบราณที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ มีที่มาจากการที่บรรพบุรุษชาวเมี่ยนได้สังเกตเห็นลักษณะโครงร่าง อันน่าสนใจของใบหูเสือ จึงได้นำมาจินตนาการสร้างสรรค์ขึ้นเป็นลวดลาย ปักบนผืนผ้า ลายด่มหม่าวหน่อมเป็นลวดลายที่มีวิธีการปักค่อนข้างยาก หญิงชาวเมี่ยนที่ปักลายนี้ได้นั้นจำเป็นจะต้องผ่านการฝึกหัดปักลายง่ายๆ มาระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะปักลายนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีผู้สืบทอด เอกลักษณ์ลวดลายด่มหม่าวหน่อม หรือลายหูเสือให้ปรากฏคงอยู่ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา

16. ลายด่มหม่าวบิย่อง หรือลายหน้าผากเสือ

ด่มหม่าวบิย่อง เป็นภาษาชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) ความหมายใน ภาษาไทยหมายถึง หน้าผากเสือ เป็นลวดลายงานปักโบราณที่สืบทอด ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล ลักษณะของลายด่มหม่าวบิย่องมีที่มาจากการที่บรรพบุรุษชาวเมี่ยน สังเกตเห็นลวดลายสัญลักษณ์บริเวณหน้าผากของเสือโคร่ง ที่แฝงไว้ทั้งความงดงามและความน่าเกรงขาม จึงได้คิดนำมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายงานปักบนผืนผ้าที่มีความสวยสง่างาม ลาย ด่มหม่าวบิย่อง หรือลายหน้าผากเสือ ชนเผ่าเมี่ยนอาจเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า ดอกหัวเสือ เอกลักษณ์ลวดลายนี้ได้รับความนิยมจนกลายเป็น หนึ่งในลวดลายเอกลักษณ์ที่มีการสืบทอดต่อมาจนเป็นลายประจำชนเผ่าจนถึงปัจจุบัน