1. ลายก้ามปูนำโชค (ชนเผ่าม้งผาช้างน้อย)

ลายก้ามปูนำโชค เป็นลวดลายอัตลักษณ์ของเผาม้ง ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา แสดงถึงก้ามปูที่เป็นสิ่งมงคลนำโชคลาภ ให้แก่ผู้นำนำลวดลายดังกล่าวมาประดับบนเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

2. ลายแมงมุมชักเงินชักทอง (ชนเผาม้งผาช้างน้อย)

ลายแมงมุมชักเงินชักทอง เป็นลวดลายอัตลักษณ์ของเผาม้ง ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา แสดงถึงแมงมุมที่กำลังชักใย และนำความเป็นมงคลด้านเงินทอง ให้แก่ผู้นำนำลวดลายดังกล่าวมาประดับบนเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

3. ลายกังหันดูดทรัพย์ (ชนเผาม้งผาช้างน้อย)

ลายกังหันดูดทรัพย์ เป็นลวดลายอัตลักษณ์ของเผาม้ง ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา แสดงถึงกังหันที่ใช้ในการวิดน้ำ ในการเกษตร ได้ดูดความเป็นทรัพย์สิน นำความเป็นมงคลด้านทรัพย์สินเงินทอง ให้แก่ผู้นำนำลวดลายดังกล่าวมาประดับบนเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

4. ลายเต่าหมื่นหมื่นปี (ชนเผาม้งผาช้างน้อย)

ลายเต่าหมืนหมืนปี เป็นลวดลายอัตลักษณ์ของเผาม้ง ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา แสดงถึงการมีอายุยืนหมื่นๆ ปีคล้ายกับเต่า นำความเป็นมงคลด้านสุขภาพให้แก่ผู้นำนำลวดลายดังกล่าวมาประดับบนเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

5. ลายใบพัด

ลายใบพัด (ภาษาม้ง “ปลายเจ๋า”) เป็นลายลักษณะคล้ายใบพัด ใส่ในเทศกาลทั่วไปอ และมีเรื่องเล่าในหมู่บ้านผาช้างน้อยว่าลายนี้มีความสวยงามทำให้มีการขโมยผ้าที่ปักเสร็จแล้วในหมู่บ้าน ทำให้เกิดการเรียกลายนี้ว่า “ลายขโมย”

6. ลายแมงมุม

ลายแมงมุม (ภาษาม้ง กั้งจ๋าจู๋) จะมีลักษณะคล้ายแมงมุม 8 ขา มาจากการลอกเลียนแบบธรรมชาติของแมงมุม ที่ได้พบเจอในวิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง จากการทำไร่ ทำนา ทำสวน

7. ลายก้ามปู

ลายก้ามปู (ภาษาม้ง “เจ๋าจื่อ”) มาจากการลอกเลียนแบบธรรมชาติของปู ที่ได้พบเจอในวิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง จากการทำไร่ ทำนา ทำสวน

ลายแมงดา

ลายแมงดา (ภาษาม้ง “เจ๋าจื่อเต๊ะ”) มาจากการลอกเลียนแบบธรรมชาติของแมงดา ที่ได้พบเจอในวิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง จากการทำไร่ ทำนา ทำสวน

9. ลายก๊ากื๊อ หรือ ลายก้นหอย

ก๊ากื๊อ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ก้นหอย เป็นลายหลักที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความชัดเจนของ ชาวม้งในแทบทุกกลุ่ม เป็นลายโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ของทั้งหลายชั่วอายุคน ลายก๊ากื๊อ หรือลายก้นหอย พบได้ทั้งในงานปัก แบบเย็บ 2 ชั้นหรือที่ชาวม้งเรียกว่าเจี่ย และงานเขียนเทียนของชาวม้งลาย ลายก๊ากื๊อหรือลายก้นหอยนั้น ตามความเชื่อทางศาสนาเชื่อว่ามีที่มา จากหอยสังข์ ซึ่งมักถูกนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ ทาง ศาสนา ลักษณะการวนของก้นหอยเปรียบเสมือนการโคจรของพระอาทิตย์ พระจันทร์และดวงดาว เอกลักษณ์ลายก้นหอยนี้ยังคงมีการสืบทอดมา จนถึงปัจจุบันสามารถพบ
ลายก๊ากื๊อหรือลายก้นหอยนี้บนผืนผ้าของชาวม้ง โดยทั่วไป

10. ลายกั่วปั๊ว หรือ ลายคอกหมู

กั่วปั๊ว เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง คอกหมู เป็นลายผ้าโบราณที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ การเรียกขานชื่อลายเป็นไปตามลักษณะของลวดลายที่ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายคอกหมูที่มีอยู่ตามบ้านของชาวม้งในสมัย โบราณ ที่มักเลี้ยงหมูไว้เป็นอาหารในครัวเรือน หญิงเผ่าม้งยังคงรักษา เอกลักษณ์ลวดลายเช่นนี้เป็นลวดลายปักบนผืนผ้าจนถึงทุกวันนี้ ลายนิ้วนิ้ว หรือลายคอกหมู ใช้เทคนิคการเย็บผ้าปะติดร่วมกับการปัก เดินเส้น มักนิยมนำไปเป็นลวดลายประดับผ้าคาดเอวของผู้หญิงชาวมัง

11. ลายโหร้วซรั๊ว หรือ ลายผักกูด

โหร่วซรั้ว เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ภาษาไทยหมายถึง ผักกูด ใช้เรียก ลายปักผ้าโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดกันมานับตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของ ชนเผ่าม้ง ลักษณะการเรียกชื่อเป็นไปตามลักษณะเด่นของลวดลายที่มี ความโค้งงอสวยงาม ละม้ายคล้ายความโค้งอ่อนตามธรรมชาติของ ยอดผักกูด ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่รับประทานได้ ชาวม้งจึงนิยมนำ ลายโหร่วซรั้วหรือลายผักกูดมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายประดับบนเครื่อง แต่งกายทั้งชายและหญิง เป็นอีกหนึ่งลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และมีความชัดเจนของผ้าชาวเขาเผ่าม้งและยังคงมีการสืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน สามารถพบลวดลายโหร่วซรั้ว หรือลายผักกูดนี้บนผืนผ้าของ ชาวม้งโดยทั่วไป

12. ลายแน้งหน่า หรือ ลายตีนหนู

แน้งหน่า เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ตีนหนู เป็นลายโบราณดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวม้งจินตนาการมาจาก ลักษณะรอยเท้าของหนู มักนิยมใช้เป็นลายเสริมเพื่อค้นสลับกับลายหลัก พบได้ในผ้าปักชาวม้งแทบทุกผืน เทคนิคการสร้างสรรค์ลายแน้งหน่า หรือ ลายตีนหนูนี้ใช้เทคนิคป้านโต๊วจัว คือการตัดเศษผ้าเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำ มาเย็บติดเป็นลวดลายบนผืนผ้าหลัก การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยเทคนิค ลักษณะนี้ค่อนข้างยาก เป็นเทคนิคแบบโบราณที่ได้รับการถ่ายทอดมา จากบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่มักเป็นหญิงชาวม้งสูงอายุเป็นผู้ทำ
จึงยังสามารถ พบลวดลายแก๊งหน้า หรือลายตีนหนูในม้งบางกลุ่ม บางพื้นที่ที่ยังคง สืบทอดเอกลักษณ์ลวดลายดั้งเดิมเพราะต้องใช้ความชำนาญมาก

13. ลายค้อมวนเจ หรือ ลายตาปลา

ค้อมวนเจ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ดวงตาของปลา เป็นลายปักโบราณที่หญิงชาวม้งได้รับการถ่ายทอด เอกลักษณ์ลวดลายมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ นิยมปักเป็นลายตกแต่ง แทรกอยู่กับลายอื่น ๆ บนผืนผ้า อาจดูไม่โดดเด่นเหมือนลายก้นหอย แต่ก็เป็นลายที่มีการสืบทอดต่อกันมาจากโบราณกาลลายล้อมวนเจ มีที่มาจากการสังเกตรูปร่างของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำในธรรมชาติ อันสืบเนื่อง จากวิถีชีวิตในอดีตของชาวม้ง ที่มักจะออกจับปลาน้ำจืดหรือที่ชาวม้ง เรียกว่าปลาน้ำเย็น เพื่อนำมาเป็นอาหารหลักของครอบครัว ลักษณะของ ลายค้อมวนเจเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางลวดลายคล้ายดวงตาของปลา จึงมีการเรียกชื่อลายนี้ว่า
ค้อมวนเจ หรือตาปลานั่นเอง

14. ลายตื้อตั้วตือ หรือ ลายก้นหอยมีหาง

ตื้อตั้วตือ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ที่ใช้เรียกชื่อลักษณะของลายที่ดู คล้ายลายก้นหอย ที่บริเวณส่วนกลางลำตัวมีลักษณะแหลมยื่นออกไป เหมือนลูกศร มองดูแล้วคล้ายกับก้นหอยมีหางแหลม จึงเรียกขานลักษณะ ลวดลายเช่นนี้ว่า ก้นหอยมีหาง เป็นลวดลายที่บรรพบุรุษของชนเผ่าม้ง มีจินตนาการประยุกต์มาจากลายก้นหอยนั่นเอง ลายตื้อตั้วตือ เป็นลายโบราณที่บรรพบุรุษถ่ายทอดสืบต่อกันมา หญิงชาวมั่งยังคงรักษา เอกลักษณ์ลวดลายนี้ให้คงอยู่จนถึงปัจจุบัน

15. ลายปั้นโต๊วโต่ว หรือ ลายฝักถั่ว

ปั้นโต๊วโต่ว เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมาย ถึง ฝักถั่ว เรียกขานชื่อลายตามลักษณะของงานปักที่ดูคล้ายฝักถั่วแขก ซึ่งเป็นพืชผักพื้นบ้านที่ชาวมั่งมักจะปลูกผสมอยู่ในไร่กาแฟ เพื่อนำมา รับประทานกันในครอบครัว มักนิยมนำไปเป็นลวดลายบนผ้าสี่เหลี่ยม ผืนเล็กที่เรียกว่า ดี๊กฉ่อ ที่ติดประดับอยู่บริเวณด้านหลังปกเสื้อของชุด แต่งกายประจำเผ่าผู้หญิงเผ่าม้ง ลักษณะของผืนผ้าสี่เหลี่ยมนี้คล้าย ปกเสื้อกลา แต่มีขนาดเล็กกว่า สามเป็นไวไว หรือลายฝักถั่วใช้เทคนิค เย็บผ้าปะติดผสมกับการปักเดินเล่นคล้ายลูกใช้จึงเกิดเป็นลวดลายที่มี ความชัดเจน

16. ลายปั้นโต๊วจี่ หรือ ลายกากบาท

ปั้นโต๊วจี่ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ใช้เรียกลวดลายที่เป็นลักษณะ กากบาท หรือสำหรับชาวม้งที่นับถือศาสนาคริสต์บางกลุ่ม จะเรียก ลวดลายเอกลักษณ์เช่นนี้ว่า โค้วหลี่ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า ไม้กางเขน ก็ได้ลายกากบาท หรือลายไม้กางเขนนี้ เป็นลายโบราณดั้งเดิมที่ได้รับ การสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ถือเป็นเอกลักษณ์ลวดลายที่โดดเด่นและ มีความงามชัดเจนของชนเผ่าม้งและมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ลายกากบาท หรือลายไม้กางเขน ยังปรากฏให้เห็นได้ในผ้าของชาวม้ง แทบทุกผืน โดยมักจะถูกนำมาออกแบบเป็นศูนย์กลางของลวดลาย หรือใช้เป็นลายเสริมคันตรงกลางระหว่างลายหนึ่งเพื่อเชื่อมต่อไปอีก ลายหนึ่งทั้งบน ล่างซ้ายขวา ในทางเทคนิคแล้วลายกากบาทนี้เองที่เป็น ส่วนสำคัญทำให้ลวดลายบนผืนผ้าของชาวม้งเกิดความสวยงามตามหลักความสมมาตรและสมดุล

17. ลายลู้เบล้ หรือลายเมล็ดข้าวเปลือก

ลู้เบล้ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เมล็ดข้าวเปลือก เป็นลวดลายปักโบราณดั้งเดิมที่ชาวม้งได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมา จากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณ ลักษณะของลวดลายเป็นวงรียาวมีปลายแหลมสองข้าง มองดูคล้ายลักษณะของเมล็ดข้าว ทั้งนี้เนื่องจาก ในอดีตบรรพบุรุษชาวม้งมีอาชีพหลักคือการปลูกข้าวและถือว่าข้าวเป็น อาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ จึงได้จินตนาการลวดลายนี้ขึ้นตาม ลักษณะของเมล็ดข้าวเปลือก ลายลู้เบล้ หรือลายเมล็ดข้าวเปลือก ใช้เทคนิคการปักที่ชาวม้งเรียกว่า บ้านโต้วโหล่ว หรือการปักแบบกากบาท (คล้ายการปักครอสติชในปัจจุบัน)

18. ลายแน้งจ๊อ หรือลายตีนเสือ

แน้งจ๊อ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ตีนเสือ (เท้าเสือ) เป็นชื่อเรียกลายปักโบราณของชนเผ่าม้ง ที่มาของ ลวดลายนี้มาจากบรรพบุรุษมั่งจินตนาการขึ้นจากการเลียนแบบลักษณะ ของรอยเท้าเสือที่พบในป่า ลักษณะของการสร้างสรรค์ลวดลาย มีลักษณะคล้ายกับการผสมผสานลายก้นหอยและลายเมล็ดข้าวเปลือก เข้าไว้ด้วยกัน ลายแน้งจ๊อ หรือลายตีนเสือ ใช้เทคนิคการปักที่ชาวม้ง เรียกว่าป๊านโต๊วโหล่ว หรือการปักแบบกากบาท (คล้ายการปกครอสติช ในปัจจุบัน)

19. ลายป้อนเจ่ยจ๊อ หรือ ลายหูเสือ

ป้อนเจ่ยจ๊อ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมาย ถึง หูเสือ ใช้เรียกชื่อลายปักโบราณดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวม้งจินตนาการ จากลักษณะโค้งงอของใบหูเสือ นำมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายปักที่แสดง ความโค้งงอของลวดลายที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นลายหนึ่งของ ผ้าชนเผ่าม้ง และยังคงมีการสืบทอดลวดลายต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายป้อนเจ่ยจ๊อ หรือลายหูเสือ ใช้เทคนิคการปักแบบกากบาท (คล้ายการปักครอสติชในปัจจุบัน)

20. ลายเหน่งก๊า หรือ ลาย

เหน่งก๊า เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ตีนไก่ เป็นลายเขียนเทียนโบราณของชาวม้งลายที่สืบทอดต่อกันมาแต่ ครั้งบรรพบุรุษ ลักษณะของลวดลายเป็นลายกากบาทใหญ่ 1 อัน ส่วนปลายวาดเส้นตัดเป็นลายกากบาททั้ง 4 ด้าน ชาวม้งลายมีความเชื่อ ต่อกันมาตั้งแต่อดีตว่า ลายเหน่งก๊า หรือลายตีนไก่นี้มีที่มาจากมนุษย์ ม้งคู่แรกที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก ได้สังเกตเห็นไก่ไปเดินเหยียบพื้นดิน แล้วเดินขึ้นมาเหยียบผ้าจนเกิดเป็นร่องรอยของเท้าปรากฏเป็นลวดลาย ชัดเจน เมื่อบรรพบุรุษยังเห็นดังนั้นจึงเกิดแรงบันดาลใจนำมาจินตนาการ สร้างสรรค์ต่อเป็นลวดลายเขียนเทียนบนผืนผ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่าลาย เหน่งก๊า หรือลายตีนไก่นี้เป็นลายพื้นฐานที่ก่อให้เกิดการคิดประดิษฐ์ ลวดลายเขียนเทียนที่สวยงามของชาวม้งลายอีกมากมายในเวลาต่อมา

21. ลายตั้งกื่อ หรือ ลายกลีบกระโปรง

ตั้งกื่อ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง แปลเป็นภาษาไทยว่า กลีบกระโปรง เป็นลายเขียนเทียนโบราณที่บรรพบุรุษม้งสร้างสรรค์และจินตนาการ ตั้งชื่อลวดลาย ตามตำนานปรัมปราของชาวม้งที่เล่าต่อกันมาว่า เมื่อ หลายพันปีก่อนมีนางฟ้าตนหนึ่งชื่อว่าตั้งโหงวจิ๋ว เดินทางลงมายังโลก มนุษย์ ครั้งนั้นนางฟ้าตั้งโหงวนิ้วเกิดความคิดที่จะมองหาและสร้างสิ่งที่จะ เป็นเอกลักษณ์ให้กับชาวม้งลาย จึงได้เขียนลวดลายที่มีลักษณะกากบาท อยู่ตรงกลาง ล้อมกรอบด้วยลวดลายสี่เหลี่ยมที่เขียนให้เห็นเหมือนเถาวัลย์ คล้องเชื่อมต่อกันไปทั้ง 4 ด้านลงบนผืนผ้ากระโปรง ซึ่งเป็นชุดเครื่อง แต่งกายประจำเผ่าของหญิงชาวม้งลาย นับตั้งแต่นั้นมาลายเขียนเทียน บนกระโปรงที่มีลักษณะลวดลายเช่นนี้ จึงถูกชาวเผ่าม้งลายเรียกว่า ลายตั้งกื่อ หรือลายกลีบกระโปรง กลายเป็นลายเอกลักษณ์เครื่อง แต่งกายของผู้หญิงชาวม้งลายทุกคนจวบจนถึงปัจจุบัน

22. ลายเหง้าฟัง หรือลายแม่ม่าย

เหง้าฟัง เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง แม่ม่าย ใช้เรียกลายเขียนเทียนโบราณที่ได้รับความนิยมในกลุ่มทั้งลาย ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ชาวม้งลายเล่าขานต่อกันมาว่า ในสมัย โบราณนั้นลายนี้เรียกกันว่า ลายตาแพะ ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะ ของลวดลายที่เป็นจุดดำเล็ก ๆ ดูคล้ายกับดวงตาของแพะ แต่ต่อมามี แม่ม่ายชาวม้งลายคนหนึ่ง รีบร้อนที่จะวาดลวดลายเขียนเทียนในผืนผ้า กระโปรงของตนให้สวยงาม เพื่อสวมไปให้ชายหนุ่มได้ดูตัว แม่ม่ายคนนั้น จึงได้เลือกใช้ลวดลายตาและเพียงลายเดียวเขียนจนทั่วผ้ากระโปรงทั้งตัว (ปกติในผืนผ้ากระโปรงของหญิงชาวเผ่าม้งลาย 1 ตัวจะมีลายเขียนเทียน หลายลายผสมกัน)ตั้งแต่นั้นมาลายเขียนเทียนลักษณะเช่นนี้ จึงได้รับ การเรียกอีกชื่อหนึ่งตามหญิงม่ายที่เป็นผู้นำไปเขียนว่าลายเหง้าฟัง หรือ ลายแม่ม่ายนั่นเอง และยังคงมีการสืบทอดเอกลักษณ์ลวดลายนี้มาให้ เห็นจนถึงทุกวันนี้

23. ลายกั้งยา หรือลายใยแมงมุม

กั้งยา เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ใยแมงมุม เป็นหนึ่งในลายเขียนเทียนที่หญิงสาวชาวม้งลายสืบทอดต่อ กันมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณ ลักษณะของลวดลายคล้ายการ วาดสามเหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นติดต่อเป็นแถวแนวยาว บรรพบุรุษ ชาวม้งลาย จินตนาการลวดลายนี้ขึ้นจากการสังเกตเห็นธรรมชาติ ของแมงมุม ที่มีการชักใยอย่างประณีตเป็นระเบียบสวยงามอย่างน่า มหัศจรรย์ จึงได้นำมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายเขียนเทียนอันงดงามบน ผืนผ้า ลายกั้งยาหรือลายใยแมงมุม นับเป็นลวดลายเอกลักษณ์ที่ได้รับความนิยมใช้เป็นลวดลายการเขียนเทียนแบบโบราณบนผืนผ้า และมี การรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์ลวดลายดั้งเดิมนี้ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน